หลักคุณธรรมพื้นฐานที่พึงมีในชีวิต

หลักพื้นฐานคุณธรรม
X
Advertisements

คุณธรรม คือคุณธรรมที่เป็นเลิศ คุณธรรมเป็นลักษณะหรือคุณสมบัติที่ถือว่าเป็นคุณธรรมที่ดีและมีค่าเป็นรากฐานของหลักการและศีลธรรมอันดี กล่าวอีกนัยหนึ่งเป็นพฤติกรรมที่แสดงมาตรฐานทางศีลธรรมอันสูงส่ง ทำสิ่งที่ถูกต้องและหลีกเลี่ยงสิ่งที่ผิด

หลักของคุณธรรมคือ

คุณธรรม คือ ความดีงามที่ถูกปลูกฝังขึ้นในจิตใจ มีความกตัญญู ขยัน ประหยัด ซื่อสัตย์ สามัคคี มีวินัย มีน้ำใจ และ เป็น สุภาพชน เป็นต้น จนเกิดจิตสำนึกที่ดี รู้สึกรับผิดชอบ ชั่ว ดี เกรงกลัวต่อการกระทำความชั่ว โดยประการต่างๆ เมื่อจิตเกิด คุณธรรมขึ้นแล้ว จะทำให้เป็นผู้มีจิตใจดี และคิดแต่สิ่งที่ดี จึงได้ชื่อว่า “เป็นผู้มีคุณธรรม”

 ลักษณะของนั้นคุณธรรมเป็นสิ่งละเอียดอ่อนอยู่ในจิตใจของแต่ละคน ไม่อาจวัดหรือควบคุมได้ด้วยกฎ ระเบียบ  หรือข้อบังคับใดๆ แต่ควบคุมด้วยจิตสำนึกของตนเอง ผู้ที่มีจิตสำนึกในคุณธรรมสามารถห้ามความคิดไม่ถูกต้องของตนองได้ และสามารถยับยั้งการกระทำที่ไม่สมควรและอาจสามารถควบคุมตนเองให้ประพฤติปฏิบัติแต่ในสิ่งที่ดีได้ จึงจะได้รับการยกย่องนับถือว่าเป็นคนดีอย่างแท้จริง เพราะว่า คนที่มีคุณธรรมจะต้องมีองค์ประกอบตามหลักดังต่อไปนี้

คุณธรรมพื้นฐานในมนุษย์

  1. เป็นคนจริง
  2. รู้จักควบคุมบังคับตนเอง
  3. มีความอดกลั้น และอดทน
  4. รู้จักเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ และมีเมตตา
  5. มีวินัย รักษาหลักการ กฎ กติกา
  6. มีความสงสาร มีความอยากให้ผู้อื่นพ้นทุกข์ ชื่นชมเมื่อผู้อื่นได้ดี
  7. รู้จักปล่อยวาง

9 คุณธรรมพื้นฐานที่ต้องฝึกและพึงมี

  1. ความขยัน ต้องมีความตั้งใจเพียรพยายาม ทำหน้าที่ของตนเองการเรียน การงานอย่างจริงจัง และต่อเนื่องในเรื่องที่ถูก มีความพยายาม ไม่ท้อถอย กล้าเผชิญอุปสรรค รักงานที่ทำ
  2. ความมีวินัย ปฏิบัติตนในขอบเขต กฎระเบียบของสถานศึกษา สถาบัน องค์กร สังคมและประเทศโดยที่ตนเองยินดีปฏิบัติตามอย่างเต็มใจและตั้งใจ ยึดมั่นในระเบียบแบบแผน ข้อบังคับและข้อปฏิบัติ รวมถึงการมีวินัยทั้งต่อตนเองในการทำเป้าหมายให้ตนเองดีขึ้นและสังคมดีขึ้น
  3. ความซื่อสัตย์ มีความประพฤติตรงทั้งต่อเวลา ต่อหน้าที่ และต่อวิชาชีพ มีความจริงในปลอดจากความรู้สึกลำเอียง หรืออคติ ไม่ใช้เล่ห์กลคดโกงทั้งทางตรงและทางอ้อมรับรู้หน้าที่ของตนเอง ปฏิบัติอย่างเต็มที่และถูกต้อง
  4. ความสุภาพ มีความอ่อนน้อมถ่อมตนตามสถานภาพและกาลเทศะ มีสัมมาคารวะ เรียบร้อย ไม่ก้าวร้าวรุนแรง หรืวางอำนาจข่มผู้อื่นทั้งโดยวาจาและท่าทาง มีมารยาทดีงาม วางตนเหมาะสมตามวัฒนธรรมไทย
  5. ความกตัญญู ปฏิบัติตนเห็นคุณค่าแห่งการกระทำดี หรืออุปการคุณของผู้มีพระคุณ เช่น พ่อแม่ ปู่ย่า ตายาย ครูอาจารย์ หรือผู้อื่น พร้อมที่จะแสดงออกเพื่อบูชา และตอบแทนคุณความดีนั้นด้วยการกระทำ การพูดและการระลึกถึงด้วยความบริสุทธิ์ใจ
  6. ความถ่อมตน ดำเนินชีวิตความเป็นอยู่อย่างเรียบง่ายรู้จักฐานะการเงินของตน คิดก่อนใช้ คิดก่อนซื้อเก็บออม ถนอมใช้ทรัพย์สิน สิ่งของอย่างคุ้มค่าไม่ฟุ่มเฟือย ฟุ้งเฟ้อ รู้จักทำบัญชีรายรับ-รายจ่าย ของตนเองอยู่เสมอ
  7. ความสามัคคี เปิดใจกว้าง รับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น รู้บทบาทของตนทั้งในฐานะผู้นำและผู้ตามที่ดีมีความมุ่งมั่นต่อการรวมพลัง ช่วยเหลือเกื้อกูลกัน เพื่อให้การงานสำเร็จลุล่วง สามารถแก้ปัญหาและขจัดความขัดแย้งได้ เป็นผู้มีเหตุผล ยอมรับความแตกต่าง ความหลากหลายทางวัฒนธรรม ความคิด ความเชื่อ พร้อมที่จะปรับตัวเพื่ออยู่ร่วมกันอย่างสันติและอย่างสมานฉันท์
  8. ความสะอาด รักษาร่างกาย ที่อยู่อาศัย และสิ่งแวดล้อมได้อย่างถูกต้องตามสุขลักษณะฝึกฝนจิตใจมิให้ขุ่นมัว มีความแจ่มใสอยู่เสมอ ปราศจากความมัวหมองทั้ง กาย ใจ และสภาพแวดล้อม มีความผ่องใสเป็นที่เจริญตา ทำให้เกิดความสบายใจแก่ผู้พบเห็น
  9. ความมีน้ำใจ มีหัวใจที่เป็นผู้ให้ เป็นผู้ให้และผู้อาสาช่วยเหลือสังคมรู้จักแบ่งปันเสียสละความสุขส่วนตน เพื่อทำประโยชน์ให้แก่ผู้อื่นเห็นอก เห็นใจและเห็นคุณค่าในเพื่อนมนุษย์ มีความเอื้ออาทรเอาใจใส่ อาสาช่วยเหลือสังคมด้วยแรงกายและสติปัญญา ลงมือปฏิบัติการเพื่อบรรเทาปัญหาหรือร่วมสร้างสรรค์สิ่งที่ดีงามให้เกิดขึ้นในชุมชน

คุณธรรมเป็นพฤติกรรมที่แสดงถึงมาตรฐานทางศีลธรรม และเป็นรูปแบบของความคิดและการกระทำบนพื้นฐานของ มาตรฐานทางศีลธรรม คุณธรรมอาจนับรวมในบริบทกว้างๆของค่านิยม บุคคลแต่ละคนละมีแก่นของค่านิยมภายใจที่ เป็นหลัก ของความเชื่อ ความคิด ความเห็น ของคนๆนั้น ความซื่อสัตย์ต่อเอง ในแง่ของค่านิยม คือคุณธรรมที่ เชื่อมค่านิยมของ คนๆนั้นเข้ากับ ความเชื่อ ความคิด ความเห็น และ การกระทำของเขา สังคมมีค่านิยมร่วมที่คนในสังคมยึดถือร่วมกัน ค่านิยมส่วน ตัว โดยทั่วไปแล้ว มักจะเข้ากับค่านิยมของสังคม

หลักคุณธรรมตามหลักศาสนาพุทธ

พุทธศาสนิกชนปฏิบัติตามแนวทางของมรรค 8 ซึ่งอาจนับเป็นรายการจำแนกคุณธรรม ดังนี้

  1. สัมมาทิฏฐิ คือ ปัญญาเห็นชอบ หมายถึง เห็นถูกตามความเป็นจริงด้วยปัญญา เข้าใจอริยสัจ 4
  2. สัมมาสังกัปปะ คือ ดำริชอบ หมายถึง การใช้สมองความคิดพิจารณาแต่ในทางกุศลหรือความดีงาม
  3. สัมมาวาจา คือ เจรจาชอบ หมายถึง การพูดสนทนา แต่ในสิ่งที่สร้างสรรค์ดีงาม
  4. สัมมากัมมันตะ คือ การประพฤติดีงาม ทางกายหรือกิจกรรมทางกายทั้งปวง
  5. สัมมาอาชีวะ คือ การทำมาหากินอย่างสุจริตชน
  6. สัมมาวายามะ คือ ความอุตสาหะพยายาม ประกอบความเพียรในการกุศลกรรม
  7. สัมมาสติ คือ การไม่ปล่อยให้เกิดความพลั้งเผลอ จิตเลื่อนลอย ดำรงอยู่ด้วยความรู้ตัวอยู่เป็นปกติ
  8. สัมมาสมาธิ คือ การฝึกจิตให้ตั้งมั่น สงบ สงัด จากกิเลส นิวรณ์อยู่เป็นปกติ

ingaplife

คุณธรรมสร้างชีวิต