ความหมายของโวหาร
โวหารคือถ้อยคำที่ใช้ในการสื่อสารที่เรียบเรียงเป็นอย่างดี มีวิธีการ มีชั้นเชิงและมีศิลปะ เพื่อสื่อให้ผู้รับสารรับสารได้อย่างแจ่มแจ้ง ชัดเจนและลึกซึ้ง และรับสารได้ตามวัตถุประสงค์ของผู้ส่งสาร
วิธีการเขียนเรียบเรียงข้อความให้สอดคล้องกับเนื้อเรื่อง โวหารที่ใช้ใน การเขียนเรียงความ ได้แก่ พรรณนาโวหาร บรรยายโวหาร อุปมาโวหาร เทศนาโวหาร เทศนา โวหาร สาธกโวหารและอธิบายโวหารหาร
ประเภทของโวหาร
การเขียนเรื่องราวอาจใช้โวหารต่าง ๆ กันแล้วแต่ชนิดของข้อความ โวหารอาจจำแนก ตามลักษณะ ของข้อความหรือเนื้อหาเป็นประเภทต่าง ๆ ได้ ดังนี้
บรรยายโวหาร
การเขียนอธิบายหรือบรรยายเหตุการณ์ที่เป็น ข้อเท็จจริงตามล าดับเหตุการณ์ เป็นการเขียนตรงไปตรงมา ไม่เยิ่นเย้อ มุ่งความชัดเจน เพื่อให้ผู้อ่านได้รับความรู้ ความเข้าใจ เช่น การเขียนเล่าเรื่อง เล่าเหตุการณ์ การเขียน รายงาน เขียนต าราและเขียนบทความ
คือ โวหารที่ใช้บอกกล่าว เล่าเรื่อง อธิบาย หรือบรรยายเรื่องราว เหตุการณ์ ตลอดจนความรู้ต่าง ๆ อย่างละเอียด เป็นการกล่างถึงเหตุการณ์ที่ต่อเนื่องกัน โดยชี้ให้เห็นถึงสถานที่ที่เกิดเหตุการณ์ สาเหตุที่ก่อให้เกิด เหตุการณ์ สภาพแวดล้อม บุคคลที่เกี่ยวข้อง ตลอดจนผลที่เกิดจากเหตุการณ์นั้น เพื่อให้ผู้รับสารเข้าใจเนื้อหา สาระอย่างแจ่มแจ้งชัดเจน เนื้อหา ที่บรรยายอาจเป็นเรื่องที่สมมุติหรือเรื่องจริงก็ได้ เรื่องที่ใช้บรรยายโวหาร ได้แก่ การเขียนตำรา รายงาน บทความ เรื่องเล่า จดหมาย บันทึก ชีวประวัติ ตำนาน เหตุการณ์ บรรยายภาพ บรรยายธรรมชาติ บรรยายบุคลิกลักษณะบุคคล สถานที่ รายงานหรือจดหมายเหตุ การรายงานข่าว การอธิบายความหมายของคำ การอธิบายกระบวนการ การแนะนำ วิธีปฏิบัติในเรื่องต่าง ๆ เป็นต้น
ตัวอย่างบรรยายโวหาร
“ภูเขาไฟฟูจิเป็นภูเขาศักดิ์สิทธิ์ที่สุดในประเทศญี่ปุ่นมาหลายศตวรรษแล้ว แต่แรกภูเขานี้เป็นที่เคารพบูชา ของชนพื้นเมืองเผ่าไอนุซึ่งปัจจุบันยังอยู่ตามหมู่เกาะฮอกไกโด ซึ่งเป็นเกาะใหญ่ ที่อยู่เหนือสุดชาวไอนุขนานนาม ภูเขานี้ตามชื่อเทพธิดา “ฟูชิ” ( fuchi) ผู้เป็นเทพธิดาแห่งอัคคี ชาวญี่ปุ่นยังคงนับถือภูเขาไฟฟูจิต่อมา และเรียกชื่อตามที่พวกไอนุตั้งไว้ บรรดาผู้นับถือศาสนาชินโตเชื่อว่าในธรรมชาติทุกรูปแบบจะมีเทพ หรือ กามิ ( kami ) สถิตอยู่ แต่เทพที่สถิตในภูเขาจะศักดิ์สิทธิ์เป็นพิเศษ ภูเขาฟูจิซึ่งสูงที่สุดและงามที่สุดในประเทศ จึงได้รับความเคารพเป็นพิเศษ เพราะถือว่าเป็นสถานที่สถิตของทวยเทพ เป็นจุดเชื่อมโยงระหว่างความ ลึกลับของสวรรค์ และความเป็นจริงของโลกมนุษย์”
(เกศกานดา จตุรงคโชค (บรรณาธิการ): โลกพิสดาร แดนพิศวง)
“ช้างยกขาหน้าให้ควาญเหยียบขึ้นนั่งบนคอ ตัวมันสูงใหญ่ ใบหูไหว พะเยิบ หญิงบนเรือนลงบันไดมาข้างล่าง เธอชูแขนยื่นผ้าขาวม้าและข้าวห่อใบตองขึ้นมา ให้เขา”
พรรณนาโวหาร
การเรียบเรียงข้อความโดยให้รายละเอียดเกี่ยวกับ บุคคล สิ่งของ ธรรมชาติ สภาพแวดล้อม ตลอดจนความรู้สึกต่างๆของผู้เขียน โดยเน้น ให้ผู้อ่านเกิดอารมณ์ความรู้สึกร่วมกับผู้เขียน
คือ โวหารที่ใช้กล่าวถึงเรื่องราว สถานที่ บุคคล สิ่งของ หรืออารมณ์อย่างละเอียด สอดแทรกอารมณ์ ความรู้สึกลงไปเพื่อโน้มน้าวใจ ให้ผู้รับสารเกิดภาพพจน์ เกิดอารมณ์คล้อยตามไปด้วย ใช้ในการพูดโน้มน้าว อารมณ์ของผู้ฟัง หรือเขียนสดุดี ชมเมือง ชมความงามของบุคคล สถานที่และแสดงอารมณ์ความรู้สึกต่าง ๆ เป็นต้น การใช้พรรณนาโวหาร ควรมีความประณีตในการเลือกใช้ถ้อยคำสำนวนที่ไพเราะเพราะพริ้ง เล่นคำ เล่นอักษร ใช้ถ้อยคำทั้งเสียงและความหมายให้ตรงกับความรู้สึกที่ต้องการพรรณนา รู้จักปรุงแต่งถ้อยคำ ให้ผู้รับสารเกิดภาพพจน์ ใช้โวหารเปรียบเทียบให้เห็นภาพชัดเจน รู้จักเลือกเฟ้นเนื้อหาว่าส่วน ใดควรนำมาพรรณนา ต้องเข้าใจเนื้อหาที่จะพรรณนาเป็นอย่างดี และพรรณนาให้เป็นไปตามอารมณ์ความรู้สึก โดยไม่เสแสร้ง บางกรณีอาจต้องใช้อุปมาโวหารหรือสาธกโวหารประกอบด้วย
ตัวอย่างพรรณาโวหาร
“เขาใช้แขนยันพื้นดิน อาการเหนื่อยอ่อน กลิ่นน้ำฝนบนใบหญ้าและกลิ่นไอดินโซนเข้าจมูกวาบหวิว อยากให้มีใครซักคนผ่านมาพบ เพื่อพาเขากลับไปหาหมอในหมู่บ้าน มดหลายตัวเดินสวนขบวนผ่านไปมา มันไม่มีทีท่าจะสนใจเขาเลยแม้แต่น้อย เขามองดูมันอย่างเลื่อนลอยทำไมมัน จึงเฉยเมยกับฉัน มันคงรู้แน่ ฉันอยากให้มันเป็นคนจริงๆ ฉันจะต้องกลับบ้านให้ได้ เขาคิดพลางเหม่งมองดูยอดสนของหมู่บ้าน หาดเสี้ยวเห็นอยู่ไม่ไกล ดวงอาทิตย์สีแดงเข้มกำลังคล้อยลงเหนือยอดไม้ทางทิศตะวันตก”
(นิคม รายวา: คนบนต้นไม้)
“สมใจเป็นสาวงามที่มีล าแขนขาวผ่องทั้งกลมเรียวและอ่อนหยัด ผิวขาวละเอียดเช่นเดียวกับแขน ประกอบด้วยหลังมืออวบนูน นิ้วเล็กเรียว หลังเล็บมีสี ดังกลีบดอกบัวแรกแย้ม”
สาธกโวหาร
การหยิบตัวอย่างมาอ้างอิงประกอบการอธิบายเพื่อ สนับสนุนข้อความที่เขียนไว้ให้ผู้อ่านเข้าใจ และเกิดความเชื่อถือ
คือ โวหารที่มุ่งให้ความชัดเจนโดยการยกตัวอย่างหรือเรื่องราวประกอบการอธิบาย เนื้อหาสาระ เพื่อสนับสนุน ข้อคิดเห็นต่าง ๆ ให้หนักแน่น สมเหตุสมผล ทำให้ผู้รับสารเข้าใจเนื้อหา สาระในสิ่งที่พูด หรือเขียนอย่างแจ่มแจ้ง ชัดเจน ดูสมจริง หรือน่าเชื่อถือยิ่งขึ้น ตัวอย่างหรือเรื่องราว ที่ยกขึ้นประกอบอาจเป็นเรื่องสั้น ๆ หรือเรื่องราวยาว ๆ ก็ได้ตามความเหมาะสม เช่น ประสบการณ์ตรงของผู้ส่งสาร เรื่องราวของบุคคล เหตุการณ์ นิทาน ตำนาน วรรณคดี เป็นต้น สาธกโวหารมักใช้เป็นอุทาหรณ ์ประกอบอยู่ในเทศนาโวหาร หรืออธิบายโวหาร การใช้สาธกโวหาร ควรใช้ถ้อยคำภาษาที่เข้าใจง่าย รู้จักเลือกว่าเนื้อหาตอนใดควรใช้ตัวอย่าง หรือเรื่องราวประกอบ และตัวอย่างที่ยกมา ประกอบต้องสอดคล้องกับเนื้อหา และเป็นเรื่องที่น่าสนใจ สมเหตุสมผล สาธกโวหารมักแทรกอยู่ในโวหารอื่น ๆ เช่น บรรยายโวหาร หรือเทศนาโวหาร
ตัวอย่างสาธกโวหาร
“ถ้าเธอไม่อยากอยู่กับฉันจริงจริง ยินยอมทุกสิ่ง ให้เธอทิ้งไป ฉันขอแค่เพียงให้เวลาหน่อยได้ไหม อยากเล่านิทานให้ฟัง ชาวนาคนหนึ่งมีชีวิตลำพัง ไปเจองูเห่ากำลังใกล้ตายสงสาร จึงเก็บเอามาเลี้ยงโดยไม่รู้ สุดท้ายจะเป็นอย่างไร คอยดูแลด้วยความจริงใจ ห่วงใย และคอยให้ความรักเป็นกังวลว่ามันจะตาย เฝ้าคอยเอาใจทุกอย่าง แต่สุดท้ายชาวนาผู้ชายใจดี ด้วยความ ที่เขาไว้ใจ น่าเสียดายกลับต้องตาย ด้วยพิษงู นิทานมันบอกให้ยอมรับความจริง ว่ามีบางสิ่ง ไม่ควรไว้ใจ อะไรบางอย่างที่ทำดีซักแค่ไหน ไม่เชื่อง ไม่รัก ไม่จริง”
(สีฟ้า: ชาวนากับงูเห่า)
“อำนาจความสัตย์เป็นอ านาจอันศักดิ์สิทธิ์ ไม่เพียงแต่จับหัวใจคน แม้แต่สัตว์ก็ยังมีความรู้สึกในความสัตย์ซื่อ เมื่อกวนอูตายแล้ว ม้าของกวนอูก็ไม่ยอมกิน หญ้ากินน้ำและตายตามเจ้าของไปในไม่ช้า ไม่ยอมให้หลังของมันสัมผัสกับผู้อื่นนอกจาก นายของมัน”
อธิบายโวหาร
คือ โวหารที่ทำให้ความคิดเรื่องใดเรื่องหนึ่งกระจ่างชัดเจนขึ้น มักใช้ ในงานเขียนทางวิชาการ และตำรับตำราต่าง ๆ โดยมีจุดประสงค์จะนำประเด็นที่สงสัยมาอธิบายให้เข้าใจแจ่มแจ้ง การเล่าเรื่องบางตอนถ้ามีประเด็นใดที่เป็นปัญหาก็อาจใช้อธิบายโวหารเสริมความตอนนั้นจนเรื่องกระจ่างชัดเจนขึ้น บางท่านจึงถือว่าอธิบายโวหารเป็นส่วนหนึ่งของบรรยายโวหาร อธิบายโวหารนี้มักใช้ในการอธิบายกระบวนการ การวิเคราะห์หรือจำแนกเนื้อหาออกเป็นประเภท หรือเป็นพวก และการอธิบายความหมายของคำ (จุไรรัตน์ ลักษณะศิริ และบาหยัน อิ่มสำราญ บรรณาธิการ, 2548, หน้า 48) การอธิบายมีหลายลักษณะ เช่น การอธิบายตามลำดับขั้น การอธิบายด้วยการให้นิยาม หรือคำจำกัดความ การยกตัวอย่าง การเปรียบเทียบ การชี้สาเหตุและผลลัพธ์ที่สัมพันธ์กัน และการใช้อุปกรณ์หรือภาษาประกอบ
สุภัค มหาวรการ (2546, หน้า 11-14) กล่าวถึง หลักการเขียนอธิบายโวหารที่ดี มีการชี้รายละเอียดของเรื่องได้ชัดเจนและครบถ้วน มีการอ้างเหตุผลต่าง ๆ อย่างชัดเจนและเป็นเหตุเป็นผลกันดี มีการจัดลำดับขั้นตอนของเรื่องราวได้ดี ไม่วกวน และใช้ภาษาที่เข้าใจง่ายและถูกต้อง
ตัวอย่างอธิบายโวหาร
ศิลปินหรือผู้สร้างศิลปะก็คือหน่วยหนึ่งของสังคม ที่สำคัญได้แก่กลไกทางการเมืองและทางเศรษฐกิจ การต่อสู้กับอิทธิพลดังกล่าวเป็นเรื่องซับซ้อนใหญ่โต เป็นต้นว่า ศิลปินและนักเขียนมีขอบข่าย แห่งเสรีภาพได้แค่ไหน เมื่อผู้ผลิตงานศิลปะจำเป็นต้องยังชีพจากผลงานของเขาด้วย เขาจะมีทางแก้ปัญหาปากท้องของตัวเองอย่างไร โดยเฉพาะในสังคมแบบทุนนิยม นากจากนี้ ปัญหาสำคัญอีกข้อหนึ่งก็คือ เมื่อศิลปะเป็นงานที่เสนอแก่สาธารณชนในแง่การค้า ปฏิปักษ์สำคัญยิ่งของศิลปะเพื่อชีวิตน่าจะมิใช่ศิลปะเพื่องานศิลปะ แต่เป็นศิลปะสุกเอาเผากินซึ่งมุ่งมอมเมา ประชาชนให้หนีจากความเป็นจริงของชีวิตมาสู่โลกของกามารมณ์ หรือเรื่องตื่นเต้นหวือหวาไร้สาระซึ่งขายดี ติดตลาดและแพร่หลายในหมู่ประชาชน
(ณรงค์ จันทร์เรือง: ศิลปะเพื่อชาติ)
อุปมาโวหาร
หมายถึงการเขียนเป็นส านวนเปรียบเทียบที่มีความคล้ายคลึงกัน เพื่อท าให้ผู้อ่านเกิดความเข้าใจลึกซึ้งยิ่งขึ้น โดยการเปรียบเทียบสิ่งของที่เหมือนกัน เปรียบเทียบโดยโยงความคิดไปสู่อีกสิ่งหนึ่ง หรือเปรียบเทียบข้อความตรงกันข้ามหรือ ข้อความที่ขัดแย้งกัน
คือ โวหารที่กล่าวเปรียบเทียบ เพื่อให้ผู้รับสารเข้าใจความหมาย อารมณ์ความรู้สึก หรือเห็นภาพชัดเจนยิ่งขึ้น มักใช้ประกอบโวหารประเภทอื่น เช่น เทศนาโวหาร บรรยายโวหาร โดยเฉพาะพรรณนาโวหาร เพราะจะช่วยให้รสของถ้อยคำและรสของเนื้อความไพเราะสละสลวยยิ่งขึ้น ทั้งสารที่เป็นรูปธรรมและนามธรรม การเปรียบเทียบอาจเปรียบความเหมือนกัน หรือคล้ายคลึงกัน เปรียบเทียบความขัดแย้ง หรือลักษณะตรงกันข้าม หรือเปรียบเทียบโดยให้ผู้รับสารโยง ความคิดหนึ่งไปสู่ อีกความคิดหนึ่ง โดยอาจกล่าวลอย ๆ หรืออาจใช้คำแสดงการเปรียบเทียบ ซึ่งมีอยู่หลากหลาย เช่น เหมือน เสมือน คล้าย ดุจ ดัง ดั่ง ดุจดั่ง ราว ดูราว ปาน เพียง ประหนึ่ง เช่น เฉก ฯลฯ การใช้อุปมาโวหารควรเลือกใช้ถ้อยคำที่เข้าใจง่าย และสละสลวย แสดงการเปรียบเทียบได้ถูกต้อง เหมาะสมกับเนื้อหา และจังหวะ ลีลา ซึ่งอาจกล่าวลอย ๆ ก็ได้ เนื้อหาที่จะเปรียบเทียบควรเป็นเนื้อหา ที่อธิบายให้เข้าใจได้ยาก เปรียบเทียบกับสิ่งที่เข้าใจได้ง่าย หรือสิ่งที่ผู้รับสารรู้ดีอยู่แล้ว และข้อความที่จะยกมา เปรียบเทียบ (อุปไมย) กับข้อความที่นำมาเปรียบเทียบ (อุปมา) จะต้องเหมาะสมกัน อุปมาโวหารใช้เป็นโวหาร เสริมบรรยายโวหาร พรรณนาโวหารและเทศนาโวหาร เพื่อให้ชัดเจนและน่าอ่านยิ่งขึ้น
ดังนี้เจ้าจะเห็นได้ว่าเมียที่พ่อจัดหาให้มีตระกูล สมชาติ สมเชื้อกันดี เพราะตระกูลของเราก็มั่งมี มีคนนับหน้าถือตา ญาติพี่น้องทั้งฝ่ายบิดามารดาของนางก็บริบูรณ์ รูปร่างงามหาตำหนิมิได้ ผมดำราวกับแมลงผึ้ง หน้าเปล่งปลั่งดั่งดวงจันทร์ เนตรประหนึ่งตากวาง จมูกแม้นดอกงา ฟันเทียบไข่มุก ริมฝีปากเพียงผลตำลึงสุก เสียงหวานปานนกโกกิลา ขาคือลำกล้วย เอวเหมาะเจาะไม่อ้วนเกิน เวลาย่างเดินแคล่วคล่องมีสง่าเสมอช้างทรง เพราะฉะนั้นเจ้าจะหาทางตำหนิขัดข้องมิได้เลย…
(เสฐียรโกเศศ: กามนิต)
“อันว่าแก้วกระจกรวมอยู่กับสุวรรณ ย่อมได้แสงจับเป็นเลื่อม พรายคล้ายมรกต ผู้ที่โง่เขลาแม้ได้อยู่ใกล้นักปราชญ์ ก็อาจเป็นคนเฉลียวฉลาดได้ฉัน เดียวกัน”
เทศนาโวหาร
การเขียนอธิบาย ชี้แจงให้ผู้อ่านเข้าใจ ชี้ให้เห็น ประโยชน์หรือโทษของเรื่องที่กล่าวถึง เป็นการชักจูงให้ผู้อื่นคล้อยตาม เห็นด้วยหรือเพื่อ แนะน าสั่งสอนปลุกใจหรือเพื่อให้ข้อคิดคติเตือนใจผู้อ่าน
คือ โวหารที่มุ่งโน้มน้าวใจให้เกิดความรู้สึกคล้อยตาม เป็นการกล่าวในเชิงอบรม แนะนำสั่งสอน เสนอทัศนะ ชี้แนะ หรือโน้มน้าว ชักจูงใจโดยยกเหตุผล ตัวอย่าง หลักฐาน ข้อมูล ข้อเท็จจริง สุภาษิต คติธรรมและสัจธรรม ต่าง ๆ มาแสดงเพื่อให้ผู้อ่านเกิดความเข้าใจที่กระจ่างจนยอมรับเชื่อถือมีความเห็น คล้อยตาม และปฏิบัติตาม โวหารประเภทนี้มักใช้ ในการให้โอวาท อบรมสั่งสอน อธิบายหลักธรรม และคำชี้แจงเหตุผล ในเรื่องใดเรื่องหนึ่ง การเสนอทัศนะ เป็นต้น การใช้เทศนาโวหารควรใช้ถ้อยคำภาษาให้เหมาะสมกับผู้รับสาร ใช้ถ้อยคำในการชี้แจงเหตุผลที่กล่าวถึง ให้แจ่มแจ้งชัดเจน และชี้แจงไปตามลำดับไม่สับสนวกวน ควรใช้โวหารอื่นประกอบด้วยเพื่อให้ชวนติดตาม การเขียนเทศนาโวหารต้องใช้โวหารประเภทต่าง ๆ มาประกอบอาจจะใช้บรรยายโวหาร พรรณนาโวหาร รวมทั้งอุปมาโวหารและสาธกโวหารด้วย มักใช้กับงานเขียนประเภทบทความชักจูงใจ หรือบทความแสดง ความคิดเห็น ความเรียง เป็นต้น แต่ส่วนใหญ่มักจะเข้าใจว่าเทศนาโวหารเป็นโวหารที่มุ่งสั่งสอน
“…เราโชคดีที่มีภาษาของตนเองแต่โบราณกาล จึงสมควรอย่างยิ่งที่จะรักษาไว้ ปัญหาเฉพาะในด้านการรักษาภาษานี้ก็มีหลายประการ อย่างหนึ่งต้องรักษาให้บริสุทธิ์ในทางการ ออกเสียง คือ ให้ออกเสียงให้ถูกต้องชัดเจน อีกอย่างหนึ่งต้องรักษาให้บริสุทธิ์ในวิธีการใช้ หมายความว่า วิธีใช้คำมาประกอบเป็นประโยคนับเป็นปัญหาที่สำคัญ ปัญหาที่สาม คือ ความร่ำรวยในคำของภาษาไทย ซึ่งพวกเรานึกว่าไม่ร่ำรวยพอ จึงต้องมีการบัญญัติศัพท์ใหม่มาใช้…” “…ในปัจจุบันนี้ปรากฏว่า ได้มีการใช้ถ้อยคำออกจะฟุ่มเฟือยและไม่ตรงกับความอันแท้จริง อยู่เนือง ๆ ทั้งการออกเสียงก็ไม่ถูกต้องตามอักขรวิธี ถ้าปล่อยให้เป็นดังนี้ภาษาของเราก็มีแต่ จะทรุดโทรม ชาติไทยเรามีภาษาของเราใช้เองเป็นสิ่งประเสริฐอยู่แล้ว เป็นมรดกอันมีค่าตกทอดมาถึงเรา ทุกคนมีหน้าที่จะต้องรักษาไว้…”
(พระราชดำรัสพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว)
“ การทำความดีนั้น เมื่อทำแล้วก็แล้วกัน อย่าได้นำมาคิดถึงบ่อย ราวกับว่าการทำความดีนั้นช่างยิ่งใหญ่นัก ใครก็ทำไม่ได้เหมือนเรา ถ้าคิดเช่นนั้นความดี นั้นก็จะเหลือเพียงครึ่งเดียวแต่ถ้าทำแล้วก็ไม่น่านำมาใส่อีก คิดแต่จะทำอะไรต่อไปอีกจึง จะดี จึงจะเป็นความดีทีสมบูรณ์ ไม่ตกไม่หล่น”